บล็อก

7.เมื่อมือใหม่ อยากปั่นเสือหมอบ ภาคแรก เลื ...

เข้าชม/อ่าน 2102 ครั้ง2011-10-3 17:50 |เลือกหมวดหมู่:จักรยาน

7.เมื่อมือใหม่ อยากปั่นเสือหมอบ ภาคแรก เลือกเฟรม 

เห็นเขาปั่นเสือหมอบกันผ่านหน้าไปฉิวๆ ครั้นจะควงบันไดพาเจ้าเสือภูเขาไล่ตามไปให้ทันนั้น ก็ดูเหมือนว่ามันจะลำบากลำบนเสียเหลือเกิน ครั้นจะเปลี่ยนไปเล่นเสือหมอบซะเลยก็ยังกล้าๆกลัวๆ เกรงว่าจะซื้อแล้วผิดขนาด ผิดวิธี 

ปัญหาเหล่านี้คงจะเป็นเรื่องหนักใจสำหรับมือใหม่ๆที่อยากจะปั่นเสือหมอบกับเขา เสือหมอบหรือRoadBike เป็นจักรยานอีกแบบหนึ่งซึ่งออกแบบมาใช้กับถนนเรียบๆ สามารถทำความเร็วสูงสุดได้กว่า 60 กม/ชม. ( สำหรับพวกมือโปรนะครับ แต่สำหรับพวกที่มีความแข็งแรงสักหน่อย ก็สามารถทำtop speedได้กว่า 50 กม/ชม.ได้สบายๆ ) 

รถที่มีหน้าตาคล้ายๆกับรถถนน ก็ยังมีอีก 2 กลุ่ม คือ รถสำหรับแข่งCyclocross ( หรือ (เสือหมอบภูเขา , เรียกแบบลูกทุ่งๆหน่อย เข้าใจง่ายดี ) กับรถสำหรับแข่งTriathlon หรือไตรกีฬานั่นเอง สำหรับรถ 2 กลุ่มนี้จะกล่าวให้เข้าใจในโอกาสต่อไป 

เฟรม 

เรื่องแรกที่เราจะกล่าวกัน ก็เป็นเรื่องของเฟรม เพราะเฟรมคือหัวใจสำคัญสูงสุดของจักรยาน หากเลือกผิดขนาดไป ความสนุกสนานจะเปลี่ยนเป็นความน่าเบื่อทันทีครับ 

ในปัจจุบัน เฟรมเสือหมอบมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านวัสดุและรูปทรง ในส่วนของวัสดุนั้น ก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่า Steel เจ้าเดิม , Aluminum alloy ที่พัฒนากันอย่างต่อเนื่อง , Titanium และ พวกกลุ่มcomposite เช่น CarbonFiber ,Kevlar fiber สุดแล้วแต่จะแข่งขันกันในตลาดระดับใด เรื่องของวัสดุนี้คงจะขออนุญาตละเอาไว้ เพราะเป็นเรื่องที่เคยพูดกันไว้นานมากแล้ว เรื่องสำคัญที่จะพูดคือเรื่องของรูปทรงของเฟรม โดยในที่นี้ขอพูดถึงเฉพาะเฟรมในลักษณะDiamond shape เท่านั้นนะครับ พวกเฟรมที่มีรูปร่างแปลกๆ พัฒนามาเพื่อกิจการพิเศษ ขอละไว้ก่อนนะครับ 

เราพอจะแบ่งเฟรมในลักษณะdiamnond shape ออกเป็น 3 พวกใหญ่ๆ คือ 
1. Conventional frame เป็นเฟรมในลักษณะเดิมที่เราเห็นกันมานาน เฟรมในลักษณะนี้ส่วนท่อบน(top tube)จะขนานกับพื้นโลก เป็นเฟรมที่มีความสวยงามในแง่ของศิลปะการออกแบบ รถในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะมีความยาวของท่อบน ใกล้เคียงกับความยาวของท่อนั่ง ( เมื่อวัดแบบcenter to center ) 

รูปภาพ 

2. Sloping frame เป็นเฟรมที่มีท่อบนลาดเฉียงลง มิได้ขนานกับพื้นโลกแบบในข้อหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วมุมที่ลาดลงมานี้ จะอยู่ระหว่าง 3 - 7 องศาเท่านั้น เฟรมในลักษณะนี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น บริษัทจักรยานชั้นนำในอิตาลีที่มีหัวอนุรักษ์นิยมหลายบริษัท เริ่มเปลี่ยนท่าทีหันมาผลิตเฟรมในลักษณะนี้กัน ( Bianchi เอง ก็เริ่มหันมาผลิตSloping frame แทบจะทุกSeries ) 

รูปภาพ

เฟรมในลักษณะSlopeมีข้อดีที่เหนือกว่าเฟรมแบบconventional อยู่ 3 ประการคือ 
2.1 มีCGที่เตี้ยลง ทำให้มีstabilityดีขึ้น โดยเฉพาะในเวลาที่ลงเขา 
2.2 นน.ตัวลดลง เพราะว่าใช้เนื้อโลหะลดลง โดยทั่วไปแล้วจะลดน้ำหนักเฟรมได้ถึง 30-40กรัม 
2.3 เฟรมrigidและstiffขึ้น เนื่องจากพื้นที่ของสามเหลี่ยมหลัง ( chain stay , seat stay และseat tube )ลดลง ทำให้การตอบสนองเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการออกแรงย่ำบันไดหรือการบังคับควบคุม 

3. Compact frame Giantเป็นยี่ห้อที่เราคุ้นเคยกันดีที่เลือกผลิตเฟรมรถถนนในลักษณะนี้ เฟรมในลักษณะนี้จะทำมาเพียง 3 ขนาด ( S M แล L ) เท่านั้น ท่อบนของเฟรมGiantจะเอียงลาดมากกว่าsloping frame ทั่วๆไป โดยเฉพาะเฟรมsize S อาจจะเอียงลาดคล้ายกับเฟรมของเสือภูเขาเลยทีเดียว ผู้ใช้เพียงแต่เลือกขนาดความยาวของหลักอาน และStemที่เหมาะสมให้พอดีกับสัดส่วนเท่านั้น 

รูปภาพ 

การเลือกขนาดเฟรม 
ขนาดของรถนั้นจะใช้ความยาวของท่อนั่งเป็นตัวกำหนด (เช่นเดียวกับเสือภูเขา) โดยทั่วไปแล้วรถทางค่ายยุโรปจะวัดความยาวของท่อนั่งจากกึ่งกลางกระโหลกไปยังกึ่งกลางของท่อบนที่มาเชื่อมบรรจบด้วย หรือที่เรียกกันว่า center to center โดยจะวัดในหน่วยของเซนติเมตร ( ผิดกับเสือภูเขาที่นิยมวัดในหน่วยของนิ้ว ) ( แต่ทั้งนี้ในบางค่ายโดยเฉพาะค่ายTrek จะวัดไปจนสุดท่อนั่งเลย หรือที่เรียกว่า center to top จึงต้องระมัดระวังไว้ด้วย ทางที่ดีควรจะถือตลับเมตรไปด้วยเสียเลย ) เสือหมอบจัดเป็นรถที่ถูกออกแบบอย่างพิถีพิถัน ยิ่งถ้าเป็นค่ายยุโรปโดยเฉพาะอิตาลีด้วยแล้ว จะซอยขนาดของรถย่อยทีละ 1 cm เลยทีเดียว ( ในขณะที่ค่ายTrek จะซอยแยกย่อยแค่ทีละ 2 cm ) 

สำหรับการเลือกขนาดของเฟรมแบบconventionalนั้น มีวิธีดังนี้ 
1. อาศัยการคำนวณจาก ความยาวด้านในของขา หรือ inseem length โดยอาศัยสูตรดังนี้ 

ความยาวท่อนั่ง ( center to center ) = inseem length x 0.65 

( โดยวิธีนี้ เมื่อsetความสูงของเบาะถูกต้องแล้ว จะเหลือความยาวของหลักอานสูงพ้นขึ้นมาจากท่อนั่งประมาณ 10 cm. อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่แน่นัก เพราะว่าจักรยานในปัจจุบัน มีส่วนของท่อนั่งที่งอกออกจากท่อบนสั้นยาวผิดแผกกันไป ) 

2. สำหรับรถที่ประกอบสำเร็จแล้ว ให้ถอดรองเท้าแล้วไปยืนคร่อมท่อบนดู ควรจะมีระยะฟรีจากเป้ากางเกงถึงท่อบนประมาณ 1 นิ้ว แต่ถ้าหากสวมรองเท้าก็ควรอยู่ประมาณ 2นิ้ว 

สำหรับเฟรมแบบslopingนั้น จะต้องอาศัยคู่มือหรือแคตาลอคของแต่ละยี่ห้อดูประกอบเทียบกัน เพราะว่าท่อนั่งของเฟรมslopingจะสั้นกว่าท่อนั่งของเฟรมแบบconventional ในคู่มือจะมีการเทียบขนาดเอาไว้ให้ 

สำหรับเฟรมแบบcompactของGiant นั้น เนื่องจากมีขนาดให้เลือกเพียง 3 ขนาด ผู้ที่จะตัดสินใจซื้อ ควรจะทำการศึกษาจากใน เวปไวท์ของGiant ดูเสียก่อน เพราะว่าในบางกลุ่มความสูงนั้น สามารถเลือกใช้ได้ทั้งเฟรมขนาด S และ M หรือ ขนาดMและL ขึ้นกับว่าจะเลือกใช้หลักอานและstem สั้นยาว ยกเงยอย่างไร 

ถ้าหากคำนวณมาแล้วได้ผลก้ำกึ่ง ก็ให้เลือกเฟรมที่มีขนาดเล็ก เพราะเฟรมขนาดเล็กจะrigidและstiffกว่าเฟรมที่มีขนาดใหญ่กว่า ( ใหญ่กว่ากันแค่ 1 ซม. ก็มีความแตกต่างกันครับ ) 

ขอไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ไว้คราวหน้าค่อยมาคุยกันต่อ 

_________________
ที่มา
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=64&t=270637&p=3800397#p3800397
ที่มา  

เขินอ่ะ

อะไรก็ไม่รู้

เห็นด้วยๆ

ซึ้งจังเลย

ขำฮาตรึม

ความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)

facelist doodle วาดภาพ

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

Thaimtb ID 14

  • อันดับ
    Level.21
  • เครดิต
    65403
  • เครดิต
    65403
  • เงินยูโร
    19370755
  • จิตพิสัย
    74104
  • ทอง
    35891
TOP