บล็อก

การรักษาเบาหวานด้วยธรรมชาติบำบัด ... ...

ความนิยม 5เข้าชม/อ่าน 944 ครั้ง2012-11-9 14:14


โดย : นายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล
สำหรับเนื้อหาที่นำมาบรรยายในหัวข้อนี้เป็นประสบการณ์ที่ศูนย์ธรรมชาติบำบัด บัลวี ได้ใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมาระยะเวลาหนึ่ง เป็นการดูแลรักษาโดยใช้ธรรมชาติบำบัด ก่อนอื่นขอปูพื้นสักนิดเรื่องเบาหวาน เป็นข้อมูลเชิงการแพทย์

เบาหวานคืออะไร

เบาหวาน ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “Diabetes Melitus” เป็นโรคที่มีความผิดปกติของการนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน (Glucose Utilization) ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถแบ่งแยกย่อยได้หลายชนิด ทางการแพทย์มี 5-6 ชนิด แต่ที่รู้จักกันมี 2 ชนิด คือ
1. DM type I ซึ่งพบน้อยประมาณ 10%
2. DM type II พบประมาณ 90%

 

ความแตกต่างระหว่างเบาหวาน 2 ชนิด

DM type I เบาหวานชนิดที่หนึ่ง เป็นความผิดปกติของการสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า อินซูลิน (Insulin) คือไม่สามารถสร้างได้ เนื่องจากเซลล์ที่อยู่ในตับอ่อนหรือ Beta cell ถูกทำลาย ฉะนั้นการรักษาในทางการแพทย์ตะวันตก เนื่องจากไม่มีอินซูลิน จึงต้องใช้อินซูลินฉีดเข้าไปเพื่อทดแทน
DM type II เบาหวานชนิดที่สอง พบมากกว่าและปัญหาทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากมีความผิดปกติทางร่างกายที่ทำให้มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน พูดง่ายๆ ก็คือ ร่างกายยังผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่ว่าอินซูลินที่ผลิตออกมานั้นร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฤทธิ์ของมันได้ ฉะนั้นการรักษาเบาหวานประเภทนี้ใช้ได้ 2 แบบ คือ
1. ใช้ในการฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน ในกรณีที่อินซูลินแทบจะทำงานไม่ได้
2. ใช้การกินยาเข้าไป อย่างที่คุณหมอเทวัญฯ ได้เกริ่นนำไปแล้ว การกินยามีหลายชนิด มีชนิดหนึ่งไปกระตุ้นให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ลดภาวะการดื้อต่ออินซูลิน หรือเพิ่มการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์

 

เป้าหมายหลักของการรักษาเบาหวาน

ระดับน้ำตาลที่เราตรวจกัน จริงๆ แล้วไม่ใช่เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน แต่ที่เรากลัวกันเวลาคนเป็นเบาหวานคือ การมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างเกิดขึ้น แบ่งออกได้หลายชนิด
1. Micro vascular Complication หรือภาวะหลอดเลือดขนาดเล็กที่มีปัญหา
2. Macro vascular Complication หรือภาวะหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่มีปัญหา
3. ภาวะของน้ำตาลไม่ถูกนำไปใช้ มีพลังงานเหลือใช้ ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นไขมัน ทำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
4. เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้แหล่งพลังงานหลักได้ คือ น้ำตาล ร่างกายต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน ต้องใช้แหล่งโปรตีน ฉะนั้นคนที่เป็นเบาหวานระยะหนึ่ง จะมีปัญหากล้ามเนื้อลีบฝ่อลง หรือถ้าเป็นมากมีภาวะเสียสมดุลมากๆ ทำให้เลือดเป็นกรดมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อคได้ เรียกว่า Diabetic ketoacidosis (DKA) หรือ Hyperosmolar coma หมดสติไปได้
5. นอกจากน้ำตาลที่สูงมากจะมีผลต่อการทำงานเม็ดเลือดขาวบางชนิด ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานด้อยลง (Immunocompromise)

 

ทำไมเราถึงห่วงเรื่อง Micro vascular complication

วิธีการอธิบายว่า เบาหวานทำให้เกิดหลอดเลือดเล็กมีปัญหา ต้องดูที่เม็ดเลือดแดง มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆ เหมือนจานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 µm ถ้ามองดูทางข้างเม็ดเลือดแดงจะมีรอยบุ๋มตรงกลาง ทำไมร่างกายจึงออกแบบเม็ดเลือดแดงให้มีรอยบุ๋มตรงกลาง เพราะว่าโดยปกติเส้นเลือดที่ออกจากหัวใจจะเป็นเส้นเลือดใหญ่ แตกแขนงแยกย่อยลงไป เหมือนรากต้นไม้ พอไปถึงบริเวณปลายอวัยวะแขนงนี้จะเล็กมาก เล็กที่สุดเรียกว่า หลอดเลือด Capillary เส้นผ่านศูนย์กลางแค่ 4 µm หรือ 4 หน่วยเท่านั้น แต่ปลายก่อนถึง Capillary คือ Arteryo มันจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-9 µm เทียบกับขนาดเม็ดเลือดแดง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 µm สังเกตว่าส่วนปลายสุดเส้นผ่าศูนย์กลางเม็ดเลือดแดงใหญ่กว่า ในภาวะปกติเม็ดเลือดแดงมาจากบริเวณเส้นเลือดใหญ่ๆ เข้าไปได้ตรง Arteryo พอไปถึงคอคอด Capillary มันต้องบีบตัวให้เล็กลงโดยผ่านรอยบุ๋ม บิดตัวทำให้เล็กลงเป็นรูปรีๆ จึงจะสอดตัวเองผ่านเข้าไปใน Capillary ได้ แต่คนที่เป็นเบาหวาน น้ำตาลในเลือดมาก ฉะนั้นน้ำตาลในเลือดจะดองเม็ดเลือดตัวเอง เราเคยเห็นผลไม้แช่อิ่มไหม ถ้านำมากินมันจะกรอบๆ ไม่นุ่มเหมือนเดิม เม็ดเลือดแดงถูกน้ำตาลในเลือดดองนานๆ เม็ดเลือดแดงจะแข็ง
ปัญหา คือเม็ดเลือดแดงเข้าไปใน Capillary ไม่ได้ มันแข็ง ทำให้บริเวณอวัยวะต่างๆ ที่มีหลอดเลือดเล็กๆ มันขาดเลือด เกิดเป็นปัญหาเกิดขึ้น ถ้าเกิดบริเวณปลายมือ ปลายเท้า เส้นเลือดไปเลี้ยงไม่พอ แผลจะหายยาก เกิดเป็นแผลเรื้อรัง จะพบได้บ่อย คนเป็นเบาหวานต้องตัดนิ้ว ตัดเท้า เพราะเลือดไปเลี้ยงไม่พอ ที่ไตก็เหมือนกัน ในหน่วยไตหลอดเลือดจะเล็กมาก ถ้าเป็นเบาหวาน เลือดไปเลี้ยงที่ไตไม่พอ จะเกิดปัญหาภาวะไตเสื่อม เป็นมากๆ ไตวาย ถ้าบริเวณตาของเราจอประสาทเล็กไม่แพ้กัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงจอประสาทตาไม่พอ ทำให้เกิดการเสื่อมจอประสาทตา เรียกว่า “เบาหวานขึ้นตา” บริเวณปลายนิ้วมือ ตัวเส้นประสาทจะเล็ก เส้นประสาทถ้าเส้นเล็กๆ จะมีเส้นเลือดไปเลี้ยงเป็นคู่อยู่ด้วย ทำให้มีปัญหาเรื่องชาตามปลายมือปลายเท้าตามมา
รวม ไปถึงเส้นประสาทที่อยู่ในลำตัวของเรา ที่เลี้ยงระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS neuropathy) ตัวอื่นๆ บางคนมีปัญหา Paralysis of stomach (Gastro paresis) กระเพาะคราก บางคนเป็นเบาหวานจะมีปัญหาการย่อยดูดซึม ท้องอืดบ่อยๆ หรือบางคนมีปัญหาเรื่องการถ่ายท้อง (Chronic Diarrhea) หรือบางคนเป็น Orthostatic hypotension เวลาเราเปลี่ยนแปลงท่าลุกนั่ง เวลาลุกยืน แรงดึงดูดของโลกจะดึงตัวเลือดที่ไปเลี้ยงสมองให้ตกลงมาตามแรงดึงดูด แต่ที่เราไม่หน้ามืดเป็นลม เพราะเส้นประสาทของเราไปเลี้ยงหัวใจและหลอดเลือดปรับตัวได้ทัน ทำให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น ทำให้เลือดถูกส่งไปเลี้ยงที่ศีรษะได้ทันเวลายืนขึ้น คนปกติจะไม่มีปัญหา แต่คนที่เป็นเบาหวาน ระบบประสาทเสื่อมจากการที่หลอดเลือดไปเลี้ยงไม่ดี ทำให้มีปัญหาเวลาลุกนั่ง เปลี่ยนจากนั่งเป็นยืน ปรับตัวไม่ทัน มีอาการโคลงเคลง หน้ามืด ต้องลุกขึ้นยืนซักพักจึงจะอยู่ได้ หรือบางคนเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกระเพาะปัสสาวะมันบีบตัวไม่ดีมีปัญหาเรื่อง Neutrogena bladder หรือกระเพาะปัสสาวะคราก การบีบตัวได้ไม่ดี

 

ปัญหาอื่นๆ ที่เกิดจากเบาหวาน

นอกจากนี้ ยังเกิดปัญหาหลอดเลือดใหญ่ด้วย (Macro vascular complication) เบาหวานทำให้ไขมันในเลือดสูง จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤต อัมพาต ภาวะไขมันในเลือดสูงที่เกิดขึ้นร่วมด้วย จะทำ ให้เกิดหลอดเลือดเสื่อมตัวเร็ว เกิด atherosclerosis ได้ง่ายขึ้น เกิดโรค Peripheral vascular disease เส้นเลือดบริเวณปลายมือปลายเท้าไม่ดี จะมีอาการเส้นเลือดอุดตันได้ง่าย ซึ่งหลอดเลือดปกติจะเป็นรูกลมๆ พอมีไขมันในเลือดสูงๆ จะไปเกาะเป็นทาง ทำให้เกิดการอุดตันขึ้น
โรค เบาหวานไม่ใช่โรคเดี่ยวๆ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มโรค Metabolic Syndrome คือ มีน้ำหนักตัวมาก และมีน้ำตาลในเลือดสูง แต่ก่อนกำหนดว่าเป็นเบาหวานเมื่อน้ำตาลในเลือดเกิน 126 mg% ล่าสุดถ้าตรวจพบน้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 mg% แพทย์จะให้ตรวจซ้ำ เนื่องจากมีภาวะเสี่ยงเป็นเบาหวาน บริษัทออริสเตรท บอกว่าน้ำตาลเกิน 100 mg% ทำให้ Oral glucose test มากมีภาวะเสี่ยง จะเริ่มให้กินยาตั้งแต่ยังไม่เบาหวาน
Metabolic Syndrome (Syndrome X) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติที่มี Insulin-resistant Diabetic คนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีภาวะอื่นๆ ร่วมด้วยเสมอ เช่น โรคความดันในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคอ้วน พวกนี้ความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า เป็นภาวะที่ต้องรักษา เพราะการใช้พลังงานของร่างกายของเรา เวลาเรากินอาหารเข้าไปเกิดแป้งและน้ำตาล พอกินและดูดซึมไปในกระแสเลือด ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าร่างกายของเราจัดการได้ ใช้น้ำตาลได้ดีทำให้สุขภพดี แต่ถ้าร่างกายใช้น้ำตาลไม่ได้ น้ำตาลไม่รู้จะไปไหน มันทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เราเรียกว่า “เบาหวาน” แต่ร่างกายเราไม่ชอบใจนัก เพราะรู้ว่าน้ำตาลในเลือดสูงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายก็จะพยายามเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นตัวอื่น คือ เป็นไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่ง จากไตรกลีเซอไรด์ก็จะเปลี่ยนไปเป็น คลอเรสเตอรอล ฉะนั้นเราจะพบบ่อยๆ ว่า คนที่เป็นเบาหวาน นอกจากต้องกินยาเบาหวานแล้วต้องกินยาลดไขมันด้วย เพราะไตรกลีเซอไรด์สูงมาก คลอ-เรสเตอรอล บางคนขึ้น 300 บางคนไตรกลีเซอไรด์ขึ้นไป 400 จะเป็นปัญหาพ่วงกันมา เมื่อไหร่ก็ตามทำให้น้ำตาลลดลงซักพัก ไตรกลีเซอไรด์ก็จะลงตาม ไขมันในเลือดลดลงเป็นการแก้ปัญหาทีเดียว

 

ความรุนแรงของปัญหาโรคเบาหวาน

พบว่าอัตราการเกิดโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในยุโรปเพิ่มขึ้น อเมริกาเพิ่มขึ้น รวมทั้งโลกเพิ่มขึ้น โรคเบาหวานประเภทที่ 2 มีความชุกสูงและเป็นปัญหาสำคัญของสาธารณสุขหลายประเทศโดยเฉพาะในประเทศยุโรป ประเทศสหรัฐอเมริกา เบาหวานเป็นสาเหตุการตายอันดับ 5 ในปีล่าสุด จำนวนผู้ป่วยมากกว่า 213,000 คน ที่ตายจากโรคเบาหวาน หรือโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน คิดเป็นค่ารักษาต่อปีถึง 132,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในปี 2002
ใน ประเทศไทยเองก็มีอัตราของผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจสถานะสุขภาพประชาชนไทย พบว่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ความชุกของโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า เป็นปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้นขนาดไหน สหรัฐอเมริกาเอง ปี 1992 ค่ารักษาอยู่ประมาณไม่ถึง 250 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในปี 2110 เพิ่มขึ้นจนถึงประมาณ 22,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ นี่คือยอดขายยาเบาหวานในแต่ละปี
มี การทดลองอันหนึ่งที่น่าสนใจของ UKPDS พบว่าในระยะยาว ไม่ว่าคุมน้ำตาลได้แค่ไหน ไม่ว่าใช้ยาหรือไม่ ใช้ยาเล็กน้อย ค่าเฉลี่ยของ HbA1c จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่า คุมดีแค่ไหนก็ตาม จาก 7 ผ่านไป 6 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 8 เพิ่มเป็น 12 ปี ผู้ป่วยเบาหวานเป็นนานๆ จะเพิ่มเป็น 9 จะคุมได้ยากขึ้น เป็นเหตุผลว่าคนไข้ที่เป็นเบาหวานจึงต้องกินยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุด เกิดจากความเสื่อมของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ตามมาทำให้คุมได้ยาก หรือแม้แต่คุมแบบ intensive คือ ใช้ยามากเป็นพิเศษ พบว่าจาก 7 คุมได้ดีจนเหลือ 6 HbA1c คุมยังไงก็จะขึ้นเรื่อยๆ ผ่านไป 12 ปี คุมได้ไม่ดีจะเป็น 8 ฉะนั้นเราหวังพึ่งยา หลีกเลี่ยงไม่พ้น ใช้ยามากขึ้น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ยิ่งใช้ยามากเท่าไหร่ น้ำตาลจะยิ่งแกว่ง

 

ทำไม ? น้ำตาลในเลือดจึงแกว่ง

จากการที่ใช้ยากินมากเม็ดจะยิ่ง มีอาการหิวบ่อยมากเท่านั้น เป็นผลข้างเคียงอันหนึ่ง และถ้ากินอาหารที่มี Glycemic index สูง ถ้าเกิดกินยาแล้วมีน้ำตาลต่ำ หมอจะแนะนำให้อมลูกอม แต่การอมลูกอมไม่ใช่การแก่ปัญหา เพราะการอมลูกอมเป็นการกระตุ้นให้น้ำตาลขึ้นไปสูง และการตอบสนองของอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 จะหลั่งออกมามาก ทำให้ดึงน้ำตาลลงมาระยะยาว และมีภาวะน้ำตาลต่ำเป็นระยะๆ ทำให้หิว ยิ่งทำให้เกิดการหิว ยิ่งกินอีกยิ่งหิว ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่าเวลาเรากินน้ำตาลเข้าไป ภายใน 0-5 นาที กลูโคสจะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งอินซูลิน ระดับอินซูลินจากเดิมที่อยู่ในระดับ Basal จะไปถึง 1st phase Insulin หลังจากนั้นแล้วจะไปกระตุ้นให้ตับอ่อนสร้างอินซูลินเพิ่มเติม เวลาผ่านไปครึ่งชั่วโมงหรือหนึ่งชั่วโมง ร่างกายจะหลั่งอินซูลินออกมาเป็นอีกระลอกหนึ่ง เรียกว่า 2nd phase ถ้าเรากินอาหารที่ให้น้ำตาลสูง พอกินแล้วน้ำตาลขึ้นไปจนถึงจุดหนึ่ง จะไปกระตุ้นร่างกายสร้างอินซูลินเพิ่มเติม ซึ่งอินซูลินนี้มันมากเกินไป จะไปดึงทำให้น้ำตาลในเลือดลงมา แต่เนื่องจากมี 2nd phase Insulin น้ำตาลดึงลงไป ในช่วงท้ายของ phase 2 ที่มีการหลั่งอินซูลิน ก็จะดึงให้อินซูลินในเลือดลงต่ำกว่าระดับปกติ ทำให้ร่างกายมีภาวะ Hypoglycemia แล้วหิว ถ้าหิวแล้วกินอาหารผิดประเภท ยังเลือกกินอาหารที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้น จะทำให้น้ำตาลขึ้น กระตุ้นอินซูลินรอบที่ 2 น้ำตาลจะแกว่งขึ้นลง คนเป็นเบาหวานและกินยาบ่อยๆ เป็นกำๆ จะมีอาการซัก 10 โมง หรือบ่ายสอง บ่ายสาม จะบ่นหิว หาสาเหตุไม่ได้ พอหิว มือสั่น ใจสั่น ถ้ายังไม่คุมอาหาร เลือกกินอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล จะอยู่ในวงจรอุบาทว์ แกว่งขึ้นลงทั้งวัน พบหมอหมอจะว่าคุมน้ำตาลไม่ดี เพิ่มยาอีกก็ยิ่งหิว เป็นสาเหตุทำให้หิวบ่อย

 

กินอย่างไร ? น้ำตาลจึงไม่แกว่ง

แต่หลังๆ เริ่มมีการศึกษาพบว่า อาหารบางประเภททำให้น้ำตาลไม่สูงขึ้น เทียบกันระหว่างอาหาร 2 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ ประเภทที่เป็นน้ำตาลล้วนๆ หวานจัด หรือเป็นน้ำตาล แป้งขัดขาว พวกนี้จะทำให้หลังจากกินเข้าไประยะเวลาไม่นาน ระดับน้ำตาลจะสูงขึ้น แต่ถ้าเลือกกินอาหารประเภทที่ 2 อาหารจากธรรมชาติ เช่น ข้าวกล้อง เผือก มัน Complex คาร์โบไฮเดรต พวกนี้จะมีไฟเบอร์รวมอยู่ด้วย ทำให้การดูดซึมน้ำตาลน้อยลง ทำให้เวลากินเข้าไประดับน้ำตาลจะไม่สูงขึ้นมาก ต่างกันตรงที่ถ้าเรากินน้ำตาลเปล่าๆ หรือแป้งขัดขาว จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จะไปสร้างน้ำตาล ขณะเดียวกันทำให้อินซูลินจากตับอ่อนเพิ่มขึ้น หน้าที่ของอินซูลินมีอยู่ 2-3 อย่าง อินซูลินทำให้น้ำตาลลด แต่หน้าที่นี้เกิดการดื้อ ในกรณีที่เป็นเบาหวาน มันก็จะทำให้ไขมันเก็บสะสมมากขึ้น เรียกว่า “อินซูลินแทรบ” เป็นกับดักของอินซูลิน พออินซูลินออกมาใช้ลดน้ำตาลไม่ได้ มันจะรีบเปลี่ยนจากน้ำตาลมาเป็นไขมัน ทำให้คนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อ้วน
ถ้า เราหลีกเลี่ยงโดยกินอาหารที่เป็น Complex คาร์โบไฮเดรต หรือมี Glycemic Index ต่ำ พวกนี้จะทำให้น้ำตาลไม่ขึ้นสูงมากนัก พอกินเข้าไปมันย่อยยาก มีไฟเบอร์ด้วย จะทำให้น้ำตาลไม่ขึ้นสูงจนถึงจุดที่ไปทำให้อินซูลินออกมามาก อินซูลินขึ้นเล็กน้อย จะทำให้น้ำตาลไม่ลงจนถึงเกิดอาการหิว มีแนวโน้มใหม่ การศึกษาอาหารบางประเภท Glycemic Index ต่างๆ แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานกิน จะคุมน้ำตาลได้ดีกว่า มีสูตรอาหารของ Australian University ให้กินถั่ว แป้ง ข้าว ที่เป็นแป้งไม่ขัดขาว พวกนี้ Glycemic Index ต่ำ จะทำให้ไม่เกิดอาการหิวบ่อย คุมน้ำตาลได้ดีขึ้น ฉะนั้นเทียบได้ว่าถ้ากินอาหารที่มี Glycemin Index สูง ทำให้น้ำตาลแกว่งมาก จะมีน้ำตาลต่ำ หิวบ่อย กินบ่อย แต่ถ้าเป็นพวก Glycemin Index ต่ำ พวกแป้ง ข้าว ที่ไม่ขัดขาว น้ำตาลจะแกว่งน้อย ยิ่ง Glycemin Index ต่ำ น้ำตาลจะแกว่งน้อยเท่านั้น และคุมน้ำตาลค่าเฉลี่ยได้ดีขึ้น

 

หลักการที่ใช้ในการคุมน้ำตาลในเลือด

ไม่ต้องพูดถึงคนที่เป็นเบาหวาน กินยาลดน้ำตาล กินแป้ง ข้าว ชนิดที่หวาน ไม่คุมอาหาร ยิ่งแกว่งไม่รู้เรื่อง พอน้ำตาลสูงขึ้น อินซูลินออกมามาก ดึงน้ำตาลลงมาต่ำ แล้วไปกินยาอีก ยาดึงน้ำตาลลงมาต่ำมากขึ้น ถ้าต่ำมากๆ หิวจัด คุมอาหารไม่ไหว ปัญหาการรักษาแบบใช้ยาอย่างเดียวโดยไม่คุมอาหาร น้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น แพทย์จะเพิ่มปริมาณยา ยิ่งทำให้น้ำตาลแกว่งขึ้นมาก ตอนสูงก็สูงจัด ตอนต่ำก็ต่ำเกินไป หิวตอนน้ำตาลต่ำ ผู้ป่วยไม่รู้จะกินอะไร หมอไม่สอนไว้ ก็กินอาหารที่มี Glycemin Index ที่สูงๆ กินเหมือนเดิม คือของหวาน น้ำตาล ค่าเฉลี่ยสูงตลอด จากตรงนี้แก้ไม่ได้ซักที วิธีการแก้ทางธรรมชาติบำบัด ถ้าเราเลือกกินอาหารที่ให้ Glycemin Index ต่ำๆ ทำให้น้ำตาลไม่สูงขึ้น ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงแทนที่จะเพิ่มปริมาณยา แต่ลดปริมาณยาลด น้ำตาลจะแกว่งตัวน้อยลง จากการที่เราลดปริมาณยา หิวน้อยลง แต่ตอนหิวให้กินอาหารที่มี Glycemin Index ต่ำๆ น้ำตาลจะไม่แกว่งขึ้นสูง จะทำให้ค่าเฉลี่ยน้ำตาลลดลง วิธีการง่ายๆ แค่นี้เอง คือ เอาน้ำตาลเข้าให้ช้าและน้อยที่สุด ใช้พลังงานที่เหลือใช้เพิ่มเติมให้มากที่สุด
นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้น้ำตาลในเลือดแกว่งได้อีกอย่างก็คือ ภาวะความเครียด ซึ่งทำให้ร่างกายตอบสนองด้วยการหลั่งสารความเครียดออกมา เช่น คอซอล พวกนี้มีฤทธิ์ในการต่อต้านการทำงานของอินซูลิน ปกติอินซูลินก็ทำงานลำบากอยู่แล้ว ยังไปเจอสารต้านการทำงานของอินซูลินอีก น้ำตาลก็ยิ่งขึ้นสูงที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบไหน ก็คือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการกินและการออกกำลังกายของผู้ป่วย
หลัก การ 4 อย่างนี้ เป็นหลักในการรักษาผู้ป่วยแบบบัลวี คือ การคุมอาหารเพื่อให้น้ำตาลแกว่งน้อยด้วยการกินอาหารสูตรกินเนื้อกินผัก ซึ่งเป็นอาหารที่มี Glycemic Index ที่ต่ำ ใช้พลังงานให้มากในผู้ป่วยเบาหวาน ต้องเน้นการออกกำลังกาย ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการกิน วิธีการอยู่ และต้องควบคุมอาหารในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมก็คือการสั่งจิตใต้สำนึก Subconscious training คือ สะกดจิต บอกให้เลิกกินน้ำตาล ส่วนวิธีการที่ใช้ลดความเครียด ก็จะใช้วิธีการฝึกจิต ฝึกสมาธิ

 

การคุมอาหารสูตรกินเนื้อกินผัก

คิดโดย นายแพทย์วิศาล เยาวพงศ์ศิริ ท่านเป็นอาจารย์อยู่ภาควิชาสรีระวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยอิงหลัก 3 ข้อ
1. คนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากมีการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากการกินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล โดยมีปัญหา Delayed phase Insulin Secretion
2. ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีไขมันและโปรตีน พวกนี้กินเข้าไปไม่ได้เปลี่ยนเป็นน้ำตาลโดยตรง ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง คือ ต้องเปลี่ยนกระบวนการที่เรียกว่า Beta Oxidation เปลี่ยนหมู่ของไขมันให้เป็นน้ำตาลในเลือด มันต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ทำให้น้ำตาลของเราไม่สูงขึ้นเร็วจนเกินไป ทำให้ Glycemic Index ค่อนข้างต่ำ
3. นอกจากนี้การที่กินผัก ผักมี Glycemic Index ต่ำ มีน้ำตาลต่ำ ไม่ทำให้น้ำตาลขึ้น ถ้าเกิดกินแต่ผัก ผักไม่อยู่ท้อง ทำอย่างนั้นต้องกินไขมันร่วมด้วย เพราะไขมันมีฤทธิ์ทำให้เกิด Delay gastric emptying time ทำให้กระเพาะของเราอยู่ท้องมาก ทำให้อิ่มนาน

 

 

สรุปได้หลักการดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานต้องงดอาหารประเภทแป้ง ข้าว และคาร์โบไฮเดรตทุกชนิด เช่น เผือก มัน มันเทศ ขนมปัง พวกเส้นทั้งหลาย แม้แต่ผลไม้ก็ให้น้ำตาล ถือว่ามี Glycemic Index สูง ควรงดผลไม้ทุกชนิด รวมทั้งพืชผักที่เป็นหัวและราก เช่น หัวไชเท้า เผือก มัน พวกนี้มีแป้งมาก Glycemic Index สูง แต่อาหารที่กินได้คือให้กินผักเป็นใบ ใบเขียวทั้งหลาย และกินเนื้อโปรตีนได้ทุกชนิด เพราะว่าเนื้อโปรตีนไม่ทำให้น้ำตาลสูง กินไขมันหรือเนื้อติดมันได้ ที่สำคัญคือ ต้องกินผักมากกว่าเนื้อ จะกินเนื้ออย่างเดียวไม่ได้ ต้องกินผักมากกว่าเนื้อ 2 เท่า เป็นหลักง่ายๆ

 

 

บางคนคิดว่าเราจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่กินข้าว ให้นึกถึงว่าเรากินสุกี้ ข้าวเราไม่กิน กินแต่ลูกชิ้น ไก่ ปลา กินเนื้อสวรรค์ กินผัก ถามว่าอิ่มไหมมื้อนั้น ก็อิ่มนะ หรือกินเนื้อย่างเกาหลี กินแต่เนื้อย่าง กินแต่ผัก ไม่กินข้าวเลย ก็อิ่มเหมือนกัน อยู่ท้องด้วย ใช้ได้กับทุกร้านอาหาร กินส้มตำ ซุปหน่อไม้ คอหมูย่างได้ แต่ห้ามกินข้าวเหนียว กินโต๊ะจีนยังได้ เป็ดปักกิ่ง กินหมูหัน กินคอหมูย่าง กินผัดผักได้ แต่ห้ามกินซาลาเปา ห้ามกินผัดหมี่ อิ่มและอยู่ได้นาน

 

 

ทดลองอย่างนี้ รวบรวมข้อมูล ได้นำผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมารักษาที่บัลวี และผู้ป่วยที่ติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ มาแบบ OPD Case มาเจอกันมากกว่า 5 ครั้ง และผู้ป่วยถ้าเข้าคอร์ส 10 วัน แต่ไม่รวมผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นร่วมด้วย ทำให้กินโปรตีนไม่ได้ พวกนี้เราจะไม่เอา หรือผู้ป่วยที่เป็นโรคแทรกอื่นที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาล โรคตับ ซึ่งตับมีหน้าที่เก็บไกลโคเจน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ ระหว่างมื้ออาหาร ถ้าไม่ได้กินอาหารน้ำตาลจะไม่แกว่งลงมาก เพราะตับใช้ไกลโคเจนผลิตมาเป็นน้ำตาลในกระแสเลือด ถ้าเกิดเป็นโรคตับ น้ำตาลแกว่งอยู่แล้ว ถ้าทำแบบนี้คงไม่สำเร็จตั้งแต่ต้น และผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแต่มารักษาโรคอย่างอื่น เช่น ปวดเข่ามาฝังเข็ม เราก็ไม่เอา สรุปแล้วเราได้ผู้ป่วย 40 คน ในจำนวนนี้เป็นเบาหวาน ถ้าใช้อินซูลินฉีด 10 คน ผู้ป่วยที่กินแต่ยา 30 คน ผลออกมาเป็นอย่างไร

 

 

จากการคุมเบาหวานน้อยกว่า 140 mg% ตลอดเวลาเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการเกิดพวกแทรกซ้อนน้อยกว่าพวก Micro vascular และ Macro vascular พวกเบาหวานขึ้นตา โรคไตต่างๆ ลดลง ถ้าเกิดควบคุมได้น้อยกว่า 140 mg% ถือว่าใช้ได้ ถ้าเกิดเปลี่ยนยาฉีดเป็นยากินได้ ถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งของผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ต้องฉีดอินซูลิน แล้วกลับมากินยาได้ ถือว่าเป็นผลการรักษาที่น่าพอใจ หรือผู้ป่วยที่เคยกินยาอยู่แล้วเลิกกินยาได้ ก็ถือว่าประสบผลความสำเร็จของการรักษา เป็นผลดี ฉะนั้นดู 3 ปัจจัย คือ ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น ลดยาได้ หรืองดกินยาได้ ถือว่าเป็นพวกที่ดี

 

 

เราแบ่งระดับของการรักษาเป็น 4 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 ควบคุมอาหารอย่างเดียว

ระดับที่ 2 ควบคุมอาหารโดยใช้ยากินร่วมด้วย

ระดับที่ 3 ควบคุมอาหาร ใช้ยากินและใช้อินซูลินฉีด แต่ฉีดเฉพาะตอนก่อนนอน

ระดับที่ 4 ควบคุมอาหาร ใช้อินซูลินฉีดอย่างเดียว
ถ้า เกิดเมื่อไหร่ก็ตาม เข้าการทดลองแล้วเปลี่ยนระดับการรักษาจากระดับ 4 ฉีดยาอินซูลินอย่างเดียว มาเป็นกินยาได้ แสดงว่าได้ผลดีมาก หรือจากใช้ยากินและยาฉีด เอามากินอย่างเดียว จากระดับ 3 มาระดับ 2 ถือว่าดีมาก หรือควบคุมอาหารและใช้ยามาควบคุมอาหารอย่างเดียว ไม่ต้องใช้ยา ถือว่าผลการรักษาดี เป็นการรักษาง่ายๆ แบ่งออกเป็น 4-5 กลุ่ม ปรากฏว่าผลออกมาเป็น ผู้ป่วยที่ตอบสนองดีมาก คือ งดยาได้ มีถึง 42% และพวกที่ยังงดยาไม่ได้ แต่ใช้ยาน้อยกว่าเดิม ทั้งฉีดทั้งกิน มีถึง 30% รวมแล้ว 70% พวกที่เหลือควบคุมได้ปานกลาง ควบคุมได้ไม่ดี มีอยู่ 2 คน ควบคุมได้ไม่ดี คุมแล้วน้ำตาลขึ้น เพราะ 2 คน มี 2 ปัญหา
คนที่ 1 เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 มันไม่มีอินซูลินอยู่แล้ว กินอาหารสูตรไหนน้ำตาลก็ขึ้น
คน ที่ 2 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 แต่ตอนนี้เครียดมาก มีปัญหาทางบ้าน เครียดทุกวัน คุมน้ำตาลไม่ได้ เพราะเครียดทำให้สารความเครียดออกมา จะต้านกับอินซูลิน ทำให้คุมได้ไม่ดี ส่วนคนอื่นไม่มีปัญหา ควบคุมด้วยอาหารสูตรกินเนื้อกินผักได้ดีอยู่กว่า 70%

 

การออกกำลังกายกับเบาหวาน

พบว่า กรณีที่อินซูลินใช้น้ำตาลไม่ได้เอง 100% น้ำตาลในเลือดไม่ถูกเปลี่ยนเป็นพลังงาน ฉะนั้นน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น แล้วไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อต่างๆ ไม่สามารถใช้งานได้ จะถูกเปลี่ยนเป็นรูปไขมัน ทำให้ไขมันในเลือดสูง โปรตีนกล้ามเนื้อใช้งานไม่ได้ จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน ฉะนั้นคนไข้เป็นเบาหวานน้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง โปรตีนกล้ามเนื้อลีบฝ่อ ผลลัพธ์คือ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อลีบฝ่อ ไขมันในเลือดสูง
มีการ วิจัยหนึ่งค้นพบกล้ามเนื้อหลังที่ถูกใช้งาน หลังออกกำลังกาย พบว่า มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) ลดลง ถ้าออกกำลังกาย กล้ามเนื้อพวกนี้จะทำงานได้ดีขึ้น สรุปว่าการออกกำลังกายช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ผ่านกระบวนการการทำงานที่เรียกว่า Upreglulation ของ glucose transport system และการเพิ่มขึ้นของ GLUT-4 Protein Expression และ Insulin receptor Substrate-1 Protein Expression ทำให้กล้ามเนื้อเผาผลาญพลังงานต่างๆ ได้ดีขึ้น จากการทดลองนี้
1. น้ำตาลที่เหลือใช้จับมันกินอาหารงดแป้ง น้ำตาล, น้ำตาลที่เหลือใช้น้อยลง
2. ให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น น้ำตาลถูกใช้มากขึ้น ทำให้น้ำตาลที่สูงอยู่จะต่ำลง และเปลี่ยนจากไขมันกลับมาใช้น้ำตาล ไขมันที่เคยมีอยู่สะสมจะลดลง ความอ้วนลดลง ไขมันในเลือดลดลง โปรตีนและกล้ามเนื้อมีพลังทดแทนจากน้ำตาลแล้วจะใช้น้ำตาลได้มากขึ้น กล้ามเนื้อที่เคยลีบฝ่อจะลดลง นอกจากนี้แล้วการออกกำลังกายบางอย่าง เช่น การเล่น Weight เป็นการเพิ่มให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อที่เคยลีบฝ่อจะดีขึ้น แก้ไขน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นให้ลดลง การเล่น Weight กล้ามเนื้อที่เคยลีบฝ่อกลับมาดีขึ้น ไขมันลดลง งดแป้ง การกินโปรตีน กินผัก ไขมันในเลือดลดลง ออกกำลังกายใช้น้ำตาลเพิ่มขึ้น

 

ความเครียดกับเบาหวาน

มีงานวิจัย ภาวะความเครียดมีผลอย่างกว้างขวางต่อ Metabolic activity ทำให้มี counter regulatory hormones ออกมา กลุ่มนี้มีฮอร์โมนหลายตัว โดยเฉพาะฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง stress hormone จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในขณะที่รอผลของอินซูลิน หรือ Insulin resistance มากขึ้น ปกติคนเราถ้าเครียด น้ำตาลจะสูงมากขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่เป็นปัญหามาก เพราะอินซูลินทำงานชดเชยได้ แต่ปัญหาของคนที่เป็นเบาหวาน อินซูลินใช้งานไม่ได้ พอ stress hormone ออกมาเกิด relative โดยเปรียบเทียบกับฤทธิ์ของการที่มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
มี การทดลองแบบ Intervention studies พบว่าคนที่ควบคุมความเครียดได้ดี สามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่า ในผู้ป่วยเบาหวาน เราเอาหลักตรงนี้มาใช้ โดยใช้วิธีที่ รศ.สมพร กัณฑรดุษฎี ได้สอนผู้ป่วยเริ่มเดินจงกรม หายใจเข้าออกยาวๆ พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยทั้งก่อนและหลัง ลดลงทุกคน มีอยู่ 2 คนเท่านั้นที่ไม่ลง จาก 155 ค่าเฉลี่ยลดลงเหลือ 153 ถ้าควบคุมความเครียดได้ น้ำตาลในเลือดจะลดลง
คุม อาหารทำให้น้ำตาลลดลง คุมออกกำลังกายทำให้น้ำตาลลดลง เดินจงกรมทำให้น้ำตาลลดลง แต่ปัญหาสำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยทำได้อยู่พักเดียวแล้วเลิก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ ตอนแรกตื่นเต้นทำได้ดี แต่ตอนหลังเริ่มหายเห่อ เลิกทำ เป็นปัญหาระยะยาว คุมไม่ได้ ยกตัวอย่าง เช่น บอกให้คุมอาหารสูตรใดก็ตาม ทำไปได้พักหนึ่งแล้วเลิก เพราะผู้ป่วยติดหวาน เราพบบ่อยๆ ว่าระหว่างที่เราคุมน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยจะบอกว่าไม่ได้กินข้าว ไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อย เพลีย และไปเจาะเลือดดูตอนนั้น น้ำตาลไม่ต่ำ แล้วเพลียจากอะไร เพลียจากจิตใต้สำนึก ตนเองไปสั่งจิตว่าอย่าไปกินหวาน กินหวานไม่อร่อย กินข้าวก็ไม่อร่อย เหลือข้าวมากเลย กินเนื้อกินผักอร่อยมาก สั่งอยู่ 10 กว่าวัน เราพบว่าผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง พอตอนนี้ 1 ปี ก็ยังกินผักได้ ซื่อสัตย์มาก เพราะคนเราติดน้ำตาล เจาะเลือดดูจะมีสารเอ็นโดรฟีนออกมา ทำให้ติด ฉะนั้นถ้าเราไปสั่งจิต ตอนหลังกินน้ำตาลแล้วบาดคอ รู้สึกว่ากินแล้วไม่อร่อย เปลี่ยนพฤติกรรมระยะยาวได้ หายติดหวาน คุมน้ำตาลได้ดีจน 1 ปี เรารักษาแบบองค์รวม คอร์สเบาหวานของบัลวี โดยนำผู้ป่วยเข้าค่าย 10 วัน คุมอาหารกินเนื้อกินผัก ออกกำลังกาย เดินจงกรม และสั่งจิตใต้สำนึก

 

ผลของการรักษาเบาหวานแบบองค์รวม

พบว่าผู้ป่วยน้ำตาลลดลงเกือบทุก คน ที่เห็นว่าแกว่งขึ้นแกว่งลง เพราะว่าเมื่อมีการลดยา คุมน้ำตาลได้ 3 วัน คุมน้ำตาลได้ดี ลดยาลงเล็กน้อย คุมต่อ ลดลงๆ ได้ดี ให้หยุดยา น้ำตาลแกว่งขึ้น สถิติสูงสุดที่เราทำได้ คือ มีคุณป้าคนหนึ่งเฉลี่ยมีน้ำตาล 386 mg% เหลือ 162 mg% ตอน 10 วัน แล้วเราทำต่ออีก 1 เดือน น้ำตาลเหลือ 126 mg% แค่สามอย่างนี้ จาก 386 mg% เหลือ 126 mg% ซึ่งเป็นวิธีที่น่าสนใจ
แต่ ถ้าตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การเจาะเลือด FBS เป็นแค่ค่าของวันนั้นอย่างที่คุณหมอเทวัญได้เกริ่นนำไปแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานหลอกหมอ อีกสองวันจะไปตรวจ อดข้าว อดน้ำอย่างดี น้ำตาลลดลง มันยังไม่พอ ต้องดูค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือด ถ้าจะให้ดีต้องดู HbA1c หรือ Hemoglobin A1C ในตามหลักมาตรฐาน HbA1C ตรวจทุกสามเดือน คนไข้ที่มาเข้าคอร์สตรวจทุก 10 วัน วันแรกที่เข้าคอร์สเราตรวจ 1 ครั้ง แล้วพอออกจากคอร์สเราก็ตรวจ HbA1c พบว่าลดลง มีคุณป้าคนหนึ่ง น้ำตาล 386mg% จาก HbA1c 14 ลดลงแล้วประมาณ 8 กว่า ตอนสิ้นสุดคอร์ส และพออีกหนึ่งเดือน HbA1c ลดมาเหลือระดับ 7 ถือว่าคุมได้ภายใน 10 วัน ลดลงมาตั้งมาก เหลือคุณลุงอีกหนึ่งคน จาก HbA1c ประมาณ 9 เริ่มแรก พอจบคอร์ส HbA1c เหลือประมาณ 6.5 โดยเฉลี่ยลดลงทุกคน
การ ที่ให้กินเนื้อกินผัก แล้วคนไข้ที่เป็นเบาหวานและมีปัญหาโรคไตจะไม่มีปัญหาหรือ เนื่องจากคนที่เป็นโรคไตแล้วกินโปรตีนมากจะทำให้ไตทำงานหนัก เราได้ทำการทดลองผู้ป่วยที่เข้าคอร์ส 10 วัน ใช้สูตรกินอาหารกินเนื้อกินผัก เจาะน้ำตาลดู เริ่มต้น Creatine ค่าเฉลี่ย 0.9 ลดลงมาเหลือประมาณ 0.8 กว่า มีคุณป้าคนนี้ จาก Creatine 1.3 ลดลงมาเหลือ 1.1 ลดลงทุกคน เพราะเรากินเนื้อกินผัก ไตทำงานหนักขึ้นในการกินโปรตีนก็จริง แต่น้ำตาลในเลือดคุมได้ดีขึ้นด้วย หักลบกัน การทำงานของไตดีขึ้น มีอยู่สองคนเท่านั้นเองที่ Creatine เพิ่มขึ้น ซักไปซักมา ผู้ป่วยสองคนนี้กินแต่เนื้อผักไม่กิน เป็นข้อเน้นย้ำว่า สูตรกินเนื้อกินผักจะให้ดีต้องกินผักมากกว่าเนื้อ 2 เท่า กินได้ตามสูตรนี้ Creatine ลดลง การทำงานของไตจะดีขึ้น
นอก จากเรื่องของน้ำตาลแล้ว เราต้องดูคนว่ามีความสุขไหม ถ้าเราคุมอาหาร น้ำตาลคุมได้ดี แต่รู้สึกว่าชีวิตนี้ขาดรสชาด ไม่มีความสุข จะไม่ดี เราต้องดูความพอใจว่า ค่าเฉลี่ยผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง รู้สึกว่า สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ดีขึ้น เลข 5 คะแนนมาก เลข 1 คะแนนน้อย จากเดิมค่าเฉลี่ยตอนนี้ดีขึ้น พบว่ามีความมั่นใจมากขึ้นเวลาเข้าสังคม เพราะรู้สึกว่าการที่ตนเองต้องแบกถุงยาไปกินข้าว รู้สึกไม่ค่อยมีเกียรติและศักดิ์ศรี เป็นคนขี้โรค แต่ตอนนี้ไม่ต้องใช้ยาแล้ว รู้สึกว่าสามารถเข้าสังคมได้ดีขึ้น ได้ออกไปพบปะผู้คน
อารมณ์ แต่เดิมกลางๆ ออกจากคอร์สอารมณ์ดีขึ้น ควบคุมอาหารได้ดีขึ้น มีคุณลุงคนหนึ่งบอกว่า ตอนน้ำตาลมากๆ ดุชะมัด เติมน้ำมันรถที่ปั๊มพูดไม่ถูกหู จะลงไปต่อยกับเด็กปั๊ม ตอนนี้อารมณ์ดีขึ้นมาก และมีสมรรถนะทางร่างกาย จากช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ก็ช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น สุขภาพโดยรวมจากรู้สึกว่าแย่มาก ค่าเฉลี่ยดีขึ้น เกินค่ามาตรฐาน นั่นคือ มาตรฐานในการรักษา 3 อย่าง
ถ้า มีปัญหาเรื่องภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น จะรักษาอย่างไรด้วยธรรมชาติบำบัด พบว่าถ้าผู้ป่วยมีปัญหาแผลเรื้อรังที่เท้า ที่หน้าแข้ง คุณลุงคนนี้เคยไปหกล้ม มีแผลที่หน้าแข้งเกือบ 2 เดือน ไม่หายซักที น้ำตาลในเลือดคุมได้ไม่ดี และมีปัญหาเรื่องเลือดไปเลี้ยงแผลไม่ดี ทำให้แผลเป็นเรื้อรัง ใช้วิธีการรักษา คุมอาหาร 10 วัน จากเดิมค่าเฉลี่ยน้ำตาล 140 mg% ลงมาเรื่อยๆ จนครบ 10 วัน ลงมาเหลือ 88 mg% แล้วกลับไปให้คุมอาหารต่อเอง อาจจะคุมไม่ได้ 100% คุมได้ประมาณ 100 mg% คุมน้ำตาลได้ดีขึ้น ยาไม่ต้องกินหลายเม็ด แต่เหลือปัญหาเรื่องแผล เลือดจากหลอดเลือดไปเลี้ยงได้ไม่ดี ออกซิเจนไปเลี้ยงไม่ถึง เราคุมน้ำตาลได้ดีแล้ว คาดว่าออกซิเจนจะไปเลี้ยงที่แผลได้มากขึ้น น่าจะหาย แต่ยังไม่ดีพอ โดยการเอาออกซิเจนไปเติมในเลือด รักษาเพิ่มอีก 3 อย่าง

1. เติมออกซิเจนไปในเลือด ให้ปริมาณออกซิเจนสูงขึ้น

2. ให้สารสกัดในกลุ่มของใบแปะก๊วย (Gingobiloba Extract)

3. ทำแผลด้วยน้ำผึ้งแท้
การ เติมออกซิเจนในเลือด โดยมีเครื่องอยู่หนึ่งเครื่อง ดูดเลือดออกมา 80 ซีซี และออกซิเจนจากถังแก๊สเติมเข้าไป เอาออกซิเจนที่เติมในเลือดแล้ว เอาเลือดของผู้ป่วยบีบกลับเข้าไปเหมือนให้เลือดธรรมดา ทำอย่างนี้ประมาณ 3-4 ครั้ง ปรากฏว่าแผลที่เคยมีหายไปใน 2 สัปดาห์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่มีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานเกิดขึ้น สรุปว่าการรักษาด้วยธรรมชาติบำบัด จุดที่สำคัญที่สุด คือ เราต้องสร้างความเข้าใจให้กับผู้ป่วยว่า การรักษาเบาหวานต้องเริ่มจากตัวผู้ป่วยเองสำคัญที่สุด ถ้าผู้ป่วยถูกสอนว่า ไม่เป็นไร อาหารไม่ต้องคุม ไม่ต้องดูแลตนเองก็ได้ แล้วขอยาจากหมอ ยังไงก็คุมไม่ได้ ตอนเริ่มจากก่อนที่ร่างกายจะคุมน้ำตาลไม่ได้ ต้องคุมอาหารก่อน ไม่ว่าสูตรไหนแล้วแต่ความเชื่อ ถ้าเป็นสูตรบัลวีต้องกินเนื้อกินผัก พบว่าน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วย

 

ตัวอย่างโปรแกรมการรักษาเบาหวานด้วยธรรมชาติบำบัดของบัลวี

ผู้ป่วยที่จะเข้าโปรแกรมของศูนย์ ธรรมชาติบำบัดบัลวีต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย มีการเจาะเลือด ถูกสุ่ม Metabolic Syndrome เช่น น้ำตาลในเลือด, HbA1c, Lipid profile ดู 3-4 ตัวนี้เป็นหลัก
นอกจาก นี้แล้ว ก่อนออกกำลังกาย เราต้องทำ Fittest เพราะผู้ป่วยเบาหวานค่อนข้างบอบบาง มีความเสี่ยงในเรื่องหัวใจและหลอดเลือดสูง ไม่ใช่ว่าจะออกกำลังกายเท่ากันทุกคน ก่อนออกกำลังกายเราต้องไปดูว่าหัวใจและหลอดเลือดทำงานได้ดีกี่เปอร์เซนต์ สมมุติว่าทำงานได้แค่ 50% แทนที่จะออกกำลังกายเท่าคนอื่น ก็ออกแค่ 30% ก็พอแล้ว ตรงนี้ปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว เราจะจัดเข้าโปรแกรม 3 อย่าง
ตื่น ตอนเช้า 6 โมงเช้า ฝึกสมาธิ ฝึกชี่กง 7-8 โมง รับประทานอาหาร จัดอาหารให้เพื่อเป็นการไม่ให้แอบกินนอกลู่นอกทาง ตอนสายๆ จะบรรยายความรู้เกี่ยวกับอาหาร เช่น อาหารตัวนี้ห้ามกิน นอกจากนี้ตอนสอนให้จดตารางอาหารด้วยทุกวัน เป็นการบ้านว่าวันนี้กินอะไรบ้าง แล้วเจาะเลือด ตรงนี้มีความสำคัญ เป็นไปไม่ได้ว่าเมนูทุกเมนูในโลกนี้มันกินไม่ได้ ต้องเป็น เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง จบคอร์สต้องไปจดต่อและจดเป็น วิเคราะห์เป็น เจาะเลือดตอนเช้าทำถึงขึ้น ย้อนกลับไปดูว่ากินอาหารอย่างไร จะเรียนรู้ด้วยตนเอง เมนูไหนกินได้บ้าง ออกกำลังกายตอนเช้า เที่ยง รับประทานอาหาร ตอนบ่าย สั่งจิต เอาไปนอนในห้องมืด สะกดจิตให้ไม่อยากกินหวาน กินหวานไม่อร่อย กินข้าวแล้วอาเจียน กินเนื้อกินผักได้นานๆ และอร่อยมาก
ทำ 10 วัน ทำไมต้อง 10 วัน เพราะในช่วงแรกที่เราทำ พอเปลี่ยนสูตรอาหารน้ำตาลจะแกว่งเล็กน้อย ผู้ป่วยจะไม่มีความมั่นใจ ว่าจะไม่ไหว ถ้าผ่านช่วงวันที่ 5 ได้ น้ำตาลที่แกว่งลดลงเข้าที่ จะคุมน้ำตาลได้ง่ายขึ้น ต้องคุม 10 วัน ถ้า 5 วันรู้สึกแกว่ง ยังไม่เข้าที่ ออกคอร์สเราตรวจร่างกายอีกรอบ ชั่งน้ำหนัก วัด BMI เจาะเลือดดูน้ำตาลในเลือด, HbA1c, Lipid profile, Bun, Creatine อีกตัวที่ทำวิจัยคือ Uric ketone, Urine Albumin ถ้ามีข้อมูลออกแล้ว เราจะแสดงให้ดู
มีการ วิจัยพบว่า คนที่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยค่อนข้างสูง แม้ว่ายังสูงไม่เกินกว่าปกติ ที่จะเรียกว่าเป็นเบาหวานได้ เช่น เกิน 100 mg% มีการวิจัยในผู้ชายประมาณ 30,000 คน ที่ประเทศอิสราเอล พบว่าเป็นอยู่นานๆ พวกนี้อายุมากจะเป็นเร็วขึ้น ต้องคุมเรื่องการกินหวานให้ได้ตั้งแต่ยังหนุ่มสาว จะเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นเบาหวานในอนาคต มี 2 แนว ถ้าเป็นแนวแพทย์แผนตะวันตก ถ้าน้ำตาลสูงให้กินยาเบาหวานตั้งแต่ยังหนุ่ม ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ เรานำคุมอาหารหวาน พยายามกินอาหารที่เป็นธรรมชาติ กินข้าวกล้อง กิน Complex คาร์โบไฮเดรต กินเผือก มัน งาดำ กินอาหารธรรมชาติ อย่างปล่อยให้อ้วน ถ้าหิวแสดงว่ากินไม่พอ กินได้บ่อย อาจจะ 8 มื้อ แต่ต้องอยู่กับสูตรอาหาร

 

 

การเดินจงกรม ถ้าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ทำแค่ 2 ท่าคือ
ท่าที่ 1 ท่านั่ง หายใจลึกๆ ยาวๆ แล้วกลั้นไว้ นับ 1 2 3 ในใจ หายใจออกยาวๆ
ท่าที่ 2 เป็นท่ายืน หายใจเข้าออกยาวๆ แต่ไม่ต้องนับ 1 2 3 ทำประมาณ 10 ครั้ง ส่วนท่ายืนเป็นท่าเดินจงกรม

 

 

เรื่องของตับอ่อน หลักง่ายๆ ถ้าใช้งานตับอ่อนหนักๆ จะเสื่อมเร็วขึ้น ในกรณีที่เรากินหวานอยู่นานๆ ทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก เรากินหวานไปมากๆ โดยเฉพาะน้ำตาลขึ้น ไตรกลีเซอไรด์สูง สักพักอายุไปประมาณ 40-50 ปี เริ่มเป็นเบาหวาน เพราะตับอ่อนเริ่มทำงานไม่ไหว ผลิตอินซูลินน้อยลง ไม่มีคุณภาพเหมือนเดิม จะเป็นเบาหวานเร็วขึ้น แต่ถ้าดูแลตนเองดี แทนที่จะกินของหวาน แต่กินข้าวกล้อง กินขนมปังโฮลวีต กิน Complex คาร์โบไฮเดรต ควบคุมอาหารไม่ให้กินล้นเกิน น้ำตาลไม่มาก ตับอ่อนไม่ต้องทำงานหนักจะอยู่ได้นานขึ้น กว่าจะเป็นเบาหวาน

 

 

การออกกำลังกาย มีชี่กง เล่น Weight ปั่นจักรยาน ก่อนที่จะออกกำลังกาย แต่ละคนต้องทำ fit test djvo ถ้าจะเดินเร็ว เดินแค่ 2 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าหนุ่มออกกำลังกายครึ่งชั่วโมง เดินเร็วซัก 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นกับแต่ละคน

 

 

การสั่งจิต จิตของเรามี 2 ส่วน
1. จิตสำนึก เช่น สั่งหยิบปากกา
2. จิตใต้สำนึก คือ Autonomic never system เช่น หัวใจเต้นเป็นจิตใต้สำนึกสั่งการ ตกใจ เราสั่งหัวใจเต้นช้าไม่ได้ จิตใต้สำนึกสั่งยาก แต่ถ้าใช้จิตสำนึกที่มีคุณภาพ มีความรุนแรงพอ ฝึกให้แข็งแกร่ง เช่น ฝึกสมาธิสักพัก ใจจะเต้นช้าลง จิตมีสมาธิ มีพลานุภาพมากกว่า นั่นคือฝึกตัวเอง แต่บางคนมีปัญหาว่า ฝึกจิตตัวเองยังไม่เข้มแข็งพอที่จะสั่งจิตใต้สำนึกของตัวเองได้ ถ้าอย่างนั้นก็ให้คนอื่นที่มีความเชี่ยวชาญมาสั่ง แต่จะสั่งโดยตรงไม่ได้ เพราะกลไกปกติ ถ้าจิตสำนึกยังทำงานอยู่ ร่างกายจะไม่รับคำสั่งของคนอื่น ใครจะยอมให้คนอื่นมาสั่งง่ายๆ แต่เมื่อไรก็ตาม จิตสำนึกของเราหรือสติเริ่มเบาบางลง เช่น ง่วงนอน ก่อนนอน หรือกำลังเคลิ้มๆ ตอนนั้นจะเป็นจังหวะที่ถูกสั่งจิตได้ง่าย เริ่มแรกเข้าไปอยู่ในห้องมืด ให้ง่วงนอน ใช้เทคนิคโดยสั่งเป็นคำพูด จินตนาการว่าเราเดินไปขั้นบันไดแต่ละขั้น รู้สึกว่าผ่อนคลายลงเรื่อยๆ รู้สึกง่วงมาก รู้สึกจนหลับไป หรือบางทีใช้ดนตรีสั่งเพื่อให้ผ่อนคลาย จิตสำนึกเริ่มเบาบางลง เริ่มป้องกันตัวเองน้อยลง จังหวะนั้นเอาคนอีกหนึ่งคนเข้าไป แล้วสั่งคำสั่งใหม่ว่า จิตใต้สำนึกฟังนะ หลังจากเดิมที่เคยชอบแต่ของหวาน ให้เลิกชอบของหวาน จากเดิมที่เคยกินแล้วอร่อย กินแล้วจะบาดคอ หวานแสบคอมาก ซึ่งเมื่อตื่นขึ้นมาจิตสำนึกไม่รู้ตัว แต่จิตใต้สำนึกโดนแก้โปรแกรมแล้ว ถ้ากินไปจริงๆ จิตใต้สำนึกจะบอกว่าไม่อร่อยแล้ว มันจะหายอยาก

 

 

การฝึกสมาธิ การฝึกสมาธิเป็นจริตของแต่ละคน เพราะมีถึง 40 วิธี แล้วคนไหนชอบจริตแบบใด หลังจากจบคอร์สเราแนะนำต่อว่า ถ้าชอบเดินจงกรมให้เดินจงกรม แต่ถ้าชอบอานาปานสติก็ทำ หรือชอบเพ่งน้ำ เพ่งดิน ก็แล้วแต่คน แต่แนวทางที่เราสอนในศูนย์ฯ คือ อานาปานสติ เพราะง่าย แต่ที่เหลือจากนั้นไปทำอย่างอื่นก็แล้วแต่ เพราะให้ผลไม่แตกต่างกัน

 

 

ทางการแพทย์แบบแผนมีแนวโน้มระดับ น้ำตาลที่ต้องคุมด้วยการกินยา ซึ่งจากเดิมเมื่อสิบกว่าปีก่อน 140 mg% จึงจะเริ่มกินยากัน ตอนที่ผมจบนักศึกษาแพทย์ เหลือ 126 mg% ล่าสุดเกิน 100 mg% เริ่มคุมกันได้แล้ว ยังไม่ได้บอกว่าเป็นเบาหวาน เรื่องคุมด้วยการกินยา เป็นแนวที่ความเห็นส่วนตัวไม่ค่อยเห็นด้วยนัก เนื่องจาก

1. ไม่ได้ผลิตยาเอง

2. ถ้าคุมอาหารเองได้ ทำไมเราไม่คุมอาหารก่อน ให้คนเริ่มด้วยการพึ่งตนเองก่อน
ใน เด็กมักจะเป็นเบาหวานประเภทที่ 1 ใช้สูตรนี้พอได้ แต่ไม่สามารถหยุดอินซูลินได้ และเด็กมีปัญหา DHA ได้ง่าย ฉะนั้นการควบคุมตนเองทำอย่างใกล้ชิด ในเด็กไม่ควรพึ่งตนเอง ค่อนข้างยาก แต่ควบคุมเบาหวาน แนวโน้มที่น่าสนใจ มียาตัวใหม่ คือ “เดอมาบองซ์” เป็นอนุพันธ์ของสารต้านกัญชา สังเกตได้จากคนใช้กัญชาจะหิวบ่อย ฉะนั้นลดความหิว เอายาไปต้านตัว receptor ของกัญชา เพื่อทำให้เบื่ออาหาร เหมือนกับกลไกการสั่งจิตใต้สำนึก มาสะกดจิตดีกว่าในระยะยาว การวิจัยที่ออกมา ผู้ป่วยทดลองด้วยยาตัวนี้ปรากฏว่า ออกจากการทดลองกลางครัน 40% เพราะทนต่อผลข้างเคียง (Side effect) ไม่ได้ คลื่นไส้ อาเจียน มึน ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก

เรียบเรียงโดย
งานถ่ายทอดเทคโนโลยี กองการแพทย์ทางเลือก

สร้างเมื่อ 28 - ก.พ.- 49


เขินอ่ะ

อะไรก็ไม่รู้
4

เห็นด้วยๆ
1

ซึ้งจังเลย

ขำฮาตรึม

มีผู้แสดงความรู้สึก (5 คน)

ความคิดเห็น (0 ความคิดเห็น)

facelist doodle วาดภาพ

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

firstek ID 708

  • อันดับ
    Level.12
  • เครดิต
    13540
  • เครดิต
    13540
  • เงินยูโร
    20511260
  • จิตพิสัย
    2873757
  • ทอง
    20384
TOP