ดู: 227|ตอบกลับ: 1

A: ชวนลูกเล่นกลางแจ้ง ป้องกันภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอ

[คัดลอกลิงก์]
Dew
เช็คอินสะสม: 4480 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 5 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 46%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Dew เมื่อ 2013-7-25 20:58

กลางแจ้ง3.jpg
จนถึงเดี๋ยวนี้  พ่อแม่อาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าได้ส่งเสริมภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอหรือโรคที่ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า ดิจิตอล ดีเมนเทีย (Digital Dementia)ให้กับลูกๆ ไปแล้วโดยไม่รู้ตัวด้วยความเคยชินกับการส่งจอให้ลูกเพียงเพื่อตัดความเคลื่อนไหววุ่นวายของพวกเขาไม่ว่าจะในร้านอาหาร ในรถโดยสาร และในที่สาธารณะอื่นๆ หรือแม้แต่ในบ้าน เพราะเด็กจะหยุดนิ่งกับที่ทันทีเมื่อมีจอ
สำหรับครอบครัวที่กำลังกังวลกับโอกาสที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมในเด็กอันเกิดจากพฤติกรรมการใช้จอประเภทต่างๆ ทั้งสมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ ในแต่ละวันมากเกินไปจนเกิดอาการเสพติดจอ  ถ้าวันไหนไม่ได้จับไม่เปิด ไม่ได้ถู ไม่ได้ดู ไม่ได้กด เด็กๆ จะหงุดหงิดอารมณ์เสีย   พ่อแม่ควรรีบแก้ไขแต่เนิ่นๆ  
มีคำแนะนำที่น่าสนใจและทำได้ง่ายๆ มาฝากกัน เป็นข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์แพทย์ด้านพัฒนาการเด็กและนักวิชาการด้านการศึกษาเด็กปฐมวัย  โดย ยูนิลีเวอร์ ไทย เจ้าของแนวคิด ‘กล้าเลอะ ยิ่งเยอะประสบการณ์’ ซึ่งได้ผลักดันโครงการต่างๆ ตามแนวคิดนี้มาตลอด 13 ปี เพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นและลงมือทำเพื่อสร้างประสบการณ์ชีวิตโดยตรง


กลางแจ้ง2.jpg
นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ และพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลกล่าวว่า มีงานวิจัยจากเยอรมนีและเกาหลีที่ให้ข้อมูลตรงกันว่าปัจจุบันเด็กทั่วโลกกำลังประสบภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอ ผลคือสมองซีกขวาซึ่งทำงานเกี่ยวกับความจำ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนและสังคมทำงานน้อยลงเมื่อเด็กๆ หมกมุ่นและใช้เวลาอยู่กับหน้าจอของบรรดาเครื่องมือสื่อสารมากเกินไปในแต่ละวัน ประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาต่างๆ ของเด็กก็ลดลงตามไปด้วย
พูดง่ายๆ คือเด็กจะมีอีคิวต่ำลง ไม่รู้จักการปฏิสัมพันธ์เพื่อเรียนรู้ความรู้สึกความเข้าใจในตัวเองและผู้อื่น มีผลต่อการเรียนและการทำงานเป็นทีมเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น และผลกระทบรุนแรงที่สุดคือ การใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่มากขึ้น ไม่มีอุดมการณ์หรือแนวความคิดร่วมทางสังคม
วิธีป้องกันและแก้ไข คือ ปล่อยให้เด็กๆ วิ่งเล่นซุกซนตามประสา หรือสนับสนุนให้พวกเขาไปทำกิจกรรมนอกบ้านหลังเลิกเรียน หรือให้เล่นกีฬากลางแจ้งที่ชอบไม่ว่าจะเป็นฟุตบอล แบดมินตัน เทนนิส ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เพราะโดยธรรมชาติแล้วฮอร์โมนเอนโดฟินหรือสารสร้างความสุขในร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อมีการออกกำลังกายต่อเนื่องนาน 20-30 นาที เด็กๆ ที่ออกกำลังด้วยการวิ่งเล่นไล่จับ ขุดดินเล่นเลอะโคลน คลุกฝุ่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน จะมีสีหน้าท่าทางเปี่ยมสุขจากความสนุกที่ได้รับ แบ่งเวลาทำเช่นนี้กับลูกทุกวันถือเป็นวิธีการง่ายที่สุด และควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อทำให้เด็กๆ ติดสุขจากการออกกำลังกายแทนการติดหนึบอยู่หน้าจอ ฉะนั้น แรงผลักดันสำคัญจึงต้องมาจากพ่อแม่ เพราะต้องไม่ลืมว่าการเสพติดจอของเด็กก็เกิดมาจากพฤติกรรมของพ่อแม่นั่นเอง
“โรคที่พบมากอีกอย่างหนึ่งจากภาวะเสพติดจอของเด็กคือโรคอ้วน มีงานวิจัยของกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่ใช้เวลาวิจัยต่อเนื่องมา 50 ปีพบว่าจำนวนเด็กที่เป็นโรคอ้วนตั้งแต่เล็กเมื่อ 50 ปีก่อน ถึงวันนี้พวกเขากลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิต และโรคหัวใจ ในสถิติที่มากกว่ากลุ่มเด็กน้ำหนักปกติที่เติบโตมาในช่วงเวลาเดียวกัน”
กลางแจ้ง1.jpg
ด้านนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเด็กปฐมวัยและเป็นผู้ที่ทำงานด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กดร.วรนาท รักสกุลไทย ผู้อำนวยการแผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา ได้ให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้ใหญ่หลายคนรวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองต้องนิ่งอึ้ง เมื่อมีรายงานวิจัยระบุว่าสมรรถนะของเด็กไทย 7 ด้านต่ำกว่ามาตรฐานไม่ว่าจะเป็นทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะด้านสังคม ทักษะด้านอารมณ์ ทักษะด้านการคิดและสติปัญญา ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร ทักษะด้านจริยธรม และทักษะด้านการสร้างสรรค์
จากผลวิจัยนี้ได้ตอกย้ำชัดเจนว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รูปแบบการเลี้ยงดูลูกของพ่อแม่ยุคใหม่ได้ใช้อุปกรณ์สื่อสารหลากหลายชนิดเข้ามามีส่วนให้เด็กได้แตะต้องสัมผัส ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่พ่อแม่แม้จะมีความตระหนักแต่อาจไม่ระมัดระวัง
“โดยทั่วไปอัตราเด็กอนุบาลที่มีอาการสมาธิสั้นในแต่ละห้องเรียนจะมีอัตราเฉลี่ยที่ร้อยละ 5 แต่ตอนนี้อัตรามันเพิ่มเป็นร้อยละ 10-15 มากขึ้นจนน่าเป็นห่วง อาการสมาธิสั้นของเด็กมีสาเหตุสำคัญมาจากสิ่งเร้ารอบตัวเขาที่กระทบประสาทสัมผัสทางตาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็นจอประเภทไหน ล้วนไม่ได้ส่งเสริมการเติบโตที่สมบูรณ์ของเด็กๆ ” ดร.วรนาท กล่าว และระบุว่าพ่อแม่สามารถส่งเสริมสมรรถนะรอบด้านและพัฒนาการตามวัยของเด็กด้วยการสนับสนุนให้เด็กๆ ออกไปวิ่งเล่นกลางแจ้ง ได้ออกกำลังกาย ได้เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมนอกบ้านให้มากขึ้น เพราะการเล่นเป็นการเรียนรู้เป็นการสั่งสมประสบการณ์ชีวิตของเด็กให้มีทักษะทางสังคมที่ดี และช่วยให้เด็กห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อมจากการเสพติดจอ
ส่งเสริมให้ลูกติดสุขกับการเล่น การออกกำลังกาย ดีกว่าให้พวกเขาติดหนึบอยู่หน้าจอ
พ่อแม่อย่า ‘กลัวเลอะ’ แต่มาชวนลูกๆ ให้ ‘กล้าเลอะ’ กันดีกว่า


ขอขอบคุณ ที่นี่
เช็คอินสะสม: 1685 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 22%

โพสต์ 2013-7-25 22:28:00 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากครับ

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP