ดู: 718|ตอบกลับ: 1

กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมการที่จะ “ผลักดัน” ให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

[คัดลอกลิงก์]

ยังไม่ได้เช็คอิน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 72%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมการที่จะ “ผลักดัน”ให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น (endemic disease) ในวันที่1 กรกฎาคม 2565 หรืออีก 3 เดือนนับจากนี้ไปท่ามกลางตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระดับวันละไม่ต่ำกว่า 20,000 คนหรือหากรวมตัวเลขคนติดเชื้อที่เข้าข่าย/ATK ในแต่ละวันเข้าไปด้วยก็น่าจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า40,000-50,000 คน โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อข้างต้น “ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลงแต่ก็ยังไม่เพิ่มสูงขึ้นมากไปกว่านี้”
สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาให้โควิด-19เป็นโรคประจำถิ่น ในที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติได้กำหนดไว้ 4 เกณฑ์ประกอบไปด้วย 1) ต้องมีผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 คนต่อวัน 2)อัตราป่วยตายน้อยกว่าร้อยละ 0.1
·        คนละครึ่งเฟส 5 แย้มสูตรการแจก รัฐจ่าย25% ประชาชนจ่ายเกินครึ่ง
·        ทำไมอินเดียถึงซื้อน้ำมันรัสเซียราคาถูกได้ ทั้งที่คงความเป็นมิตรกับสหรัฐ
·        รัสเซียเปลี่ยนใจถล่มโรงงานเหล็กในเมืองมาริอูปอลอีกครั้ง
3)การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่าร้อยละ 10 และ 4) กลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง(ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง) ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่าร้อยละ 80
เหตุที่กระทรวงสาธารณสุข “กล้า” ที่จะผลักดัน คาสิโนออนไลน์ ให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น น่าจะมาจากความเชื่อที่ว่า โควิด-19สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) มีความรุนแรงของโรค “น้อยกว่า”สายพันธุ์ก่อนหน้านี้คือ สายพันธุ์เดลต้า (Delta) ด้วยการวัดจากตัวเลขผู้ป่วยหนักต้องใส่ท่อช่วยหายใจลดลง
ทว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตกลับไม่ได้ลดลง กล่าวคือตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมเป็นต้นมา เฉลี่ยมีผู้เสียชีวิต 60-80 รายทุกวันส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย ปะปนกันไป
แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ยังคง “เดินหน้า” ต่อไปล่าสุดทางคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติก็ได้ให้ความเห็นชอบแผนรองรับการเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น โดยแบ่งออกเป็น 4 เดือนหรือที่เรียกกันว่า “แผน 3 บวก 1” ดังนี้ ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.) เรียกว่าcombatting สาระสำคัญของแผนระยะนี้ก็คือ ต้องออกแรง“กดตัวเลข” ผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงไปกว่านี้ เพื่อลดการระบาดลดความรุนแรงของโควิด-19
ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า plateauคือ การคงระดับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ให้สูงขึ้นแต่ให้เป็นระนาบจนตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเรื่อย ๆ ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.)เรียกว่า declining คือ การลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลงให้เหลือวันละ 1,000-2,000 ราย

Dew
เช็คอินสะสม: 4474 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 28 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 46%

โพสต์ 2022-5-11 21:22:08 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Thank you very much.

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP