ดู: 1252|ตอบกลับ: 1

รู้จัก PDPA คืออะไร และวิธีการเตรียมความพร้อมของแบรนด์

[คัดลอกลิงก์]

ยังไม่ได้เช็คอิน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 82%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคนี้การที่แบรนด์ธุรกิจต่าง ๆ สามารถขับเคลื่อนและเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดเป็นเพราะการนำ “ข้อมูล” ของลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายมาพัฒนากลยุทธ์และการตลาดในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์ถึงความต้องการ หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างตรงจุด อย่างไรก็ตามเชื่อว่าใครหลายคนยังไม่ทราบถึงพ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า PDPA อย่างแน่นอน วันนี้เราเลยอยากขออาสาพาเพื่อน ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับ PDPA ว่ามันคืออะไร และแบรนด์ธุรกิจต่าง ๆ ควรมีวิธีรับมือในการปรับโซลูชั่นอย่างไรได้บ้างในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างถูกกฎหมาย ว่าแล้วไม่รอช้า รีบตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

Yah3m4ULiqOoaXqvsNu5OcVG1SNZ4bawY0Kh5SbYUjRZ5d83c-ABYn7SdCqjwK2v9DEOYBpLDPn8MuXfZN12uGyl0_6ayvpPs6Y1BhOG5NaQzwk9d1NHwS21SRWkagkaLmn3hzB1jGAasDJG5A

ทำความรู้จัก PDPA คืออะไร?
PDPA คือ กฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act เพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ได้มีการแจ้งให้ทราบ หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน เพราะเหตุนี้เองจึงทำให้มีการออกกฎหมายคุ้มครอง เพื่อให้แบรนด์ธุรกิจต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่หลายบริษัทยังอาจยังไม่ได้ปฏิบัติตามอย่างครบถ้วน เราเลยได้รวบรวมขั้นตอนในการเตรียมตัวให้ ดังนี้
  • เตรียมความพร้อมพนักงานในบริษัทให้เข้าใจ PDPA
ขั้นตอนแรกในการเตรียมตัว คือ การอธิบาย หรือจัด Session เพื่อที่จะอธิบายให้พนักงานเข้าใจว่า PDPA คืออะไร และต้องเตรียมตัวหรือมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการอะไรบ้าง เพื่อให้การนำข้อมูลของผู้บริโภคมาใช้ได้อย่างถูกกฎหมาย และปลอดภัยมากที่สุด
  • แจ้งจุดประสงค์ที่ต้องการนำข้อมูลมาใช้
การแจ้งจุดประสงค์อย่างละเอียดชัดเจนต่อผู้บริโภค หรือผู้ใช้งานมีความสำคัญอย่างมาก โดยต้องมีการระบุว่า ต้องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลใดบ้าง เพื่อประโยชน์อะไร และมีการเก็บระยะเวลานานเท่าไหร่ รวมถึงวิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ต้องมีการชี้แจง และควรได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้ง
  • มีแผนการรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
นอกจากจะต้องเตรียมทำเอกสาร Privacy Policy แล้ว ยังต้องมีแนวทางในการรับมือต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้ครบถ้วนอีกด้วย เช่น เมื่อเกิดเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หรือการทำข้อมูลหลุดรั่วไหล แบรนด์หรือบริษัทต้องดำเนินการและรายงานเหตุการณ์ในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงมีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นความลับอยู่ตลอดเวลา
ทั้งหมดนี้ก็เป็นสาระน่ารู้เกี่ยวกับ PDPA ว่าคืออะไร และแบรนด์ควรมีวีธีรับมือ หรือเตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมได้บ้าง หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจต่าง ๆ ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับ PDPA อยู่ และสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกวิธี

Dew
เช็คอินสะสม: 4474 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 28 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 46%

โพสต์ 2022-9-16 16:49:24 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Thank you very much.

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP