ดู: 619|ตอบกลับ: 2

การติดตั้งด้วยรางเดินสายดีกว่าการเดินสายในท่ออย่างไร?

[คัดลอกลิงก์]
เช็คอินสะสม: 2 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 1 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 95%

สมาชิก kulasang.net เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าเนื้อหาได้อย่างสมบูรณ์

คุณจำเป็นต้อง เข้าสู่ระบบ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? สมัครสมาชิก

x
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย strategist_CTT เมื่อ 2022-11-1 20:09

การติดตั้งด้วยรางเดินสาย.jpg


หลักการที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน วสท. 022001-22

มาตรฐาน วสท. 022001-22 กำหนดหลักการการติดตั้งด้วยรางเดินสายไว้ว่า สำหรับค่าความสามารถในการนำกระแสของสาย ให้พิจารณาลักษณะการติดตั้งเป็นกลุ่มที่ 1 หรือ 2 และให้ใช้ค่าขนาดกระแสของสาย, Iz ตามตารางที่ 5-20 หรือ 5-27 (หน้าที่ 5-35 และ 5-41) โดยพิจารณาเป็นกรณีตัวนำกระแส 3 เส้น แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวคูณลดกระแสเรื่องจำนวนสาย ตามตารางที่ 5-8 (หน้าที่ 5-30) หากตัวนำที่มีกระแสไหลรวมกันไม่เกิน 30 เส้นในรางเดินสายนั้น


การติดตั้งด้วยรางเดินสาย (Wireways) เทียบกับการเดินสายในท่อ
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่ากรณีการเดินสายที่มากกว่า 1 กลุ่มวงจร การพิจารณาเลือกการติดตั้งด้วยรางเดินสาย (Wireways) จะให้ผลทางวิศวกรรมที่ดีกว่า กล่าวคือ สายไฟฟ้าที่ติดตั้งในรางเดินสายจะสามารถนำกระแสได้มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการติดตั้งโดยวิธีเดินสายในท่อ นอกจากนี้ รางเดินสายจะมีลักษณะการเคลือบผิวด้วยสีฝุ่น หรือ Electrostatic Power Coatings ซึ่งผู้ผลิตสามารถจะพ่นสีหรือผลิตให้รางเดินสายมีสีต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของสถาปนิก วิศวกร หรือเจ้าของอาคาร-โรงงาน เพื่อให้การติดตั้งรางเดินสาย (Wireways) สวยงาม รวดเร็ว และกลมกลืนไปกับอาคารสำนักงานหรือโรงงานได้มากกว่า แตกต่างกับสีมาตรฐานปกติของท่อไฟฟ้าที่เป็นโลหะ (เคลือบผิวด้วยสังกะสี) อโลหะที่เป็น PVC (สีเหลือง) หรือ uPVC (สีขาว) ที่หากช่างไฟฟ้าต้องการให้ท่อมีสีอื่นจากเดิมก็จำเป็นต้องทาสีทับบนผิวเดิมเท่านั้น ทำให้ควบคุมคุณภาพของงานติดตั้งได้ยากกว่า และยังใช้เวลาในการติดตั้งมากกว่านั่นเอง

หากวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างไฟท่านใด ต้องการรางไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ขอแนะนำรางเคเบิลและรางเคเบิลแบบบันไดที่ผลิตและจำหน่ายโดย KJL
  • ตัวรางผลิตจากเหล็กแผ่นดำคุณภาพสูง ความหนา 2.0 มิลลิเมตร
  • ออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยระบบ Computer Numerical control (CNC)
  • โครงสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน NEMA VE 1-2017
  • การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM A123 / A123M ที่ความหนาเฉลี่ยของการเคลือบผิว 45-60 ไมครอน
  • มีรางเคเบิลที่ทำจากสเตนเลส เหมาะสำหรับงานติดตั้งที่ต้องการวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนมากเป็นพิเศษ


สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect

เช็คอินสะสม: 52 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 4 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 33%

โพสต์ 2022-11-8 06:13:59 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขอบคุณมากกก
Dew
เช็คอินสะสม: 4468 วัน
เช็คอินต่อเนื่อง: 22 วัน

ความคืบหน้าการอัพเกรด: 45%

โพสต์ 2022-11-8 18:41:50 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Thank you very much.

ตอบกระทู้

สำหรับคนที่ขี้เกียจพิมพ์
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อนที่จะตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

TOP